''กินข้าวเร็ว'' ลดเสี่ยงเกิดมะเร็ง

ความลับของความเชื่อมโยงกันในการเกิดมะเร็งในมนุษย์ เป็นปริศนาที่วงการแพทย์และการศึกษาวิจัยพยายามแกะรอยของสาเหตุที่แน่ชัด แม้สิ่งที่เจอยังเป็นภาพที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่ทุกครั้งที่เจอก็ทำให้เราเข้าใกล้คำตอบมากขึ้นเรื่อยๆ สายสืบสุขภาพ ค้นเจอข้อมูลที่ดร.ทราวิส สตอร์ก เปิดเผยว่า วารสารด้านมะเร็งนานาชาติทำการศึกษาวิจัยถึงความเกี่ยวพันระหว่างการกินมื้อเย็นให้ไวขึ้นกับระยะเวลาที่ห่างกันยิ่งนานของมื้อสุดท้ายกับมื้อแรกของวันต่อไป เกี่ยวพันกับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งต่อมลูกหมาก ดร.เทรวิส บอกว่า กลุ่มคนทำงานกะกลางคืนที่นาฬิกาชีวิตถูกรบกวน ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง และเสี่ยงต่อการกลายตัวของเนื้องอก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่กำจัดเซลล์ที่อาจเป็นมะเร็ง

สิ่งที่ควรทำคือนอนตอนกลางคืนให้เป็นกิจวัตรประจำวันและคงที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะการกินตอน 5 ทุ่มแล้วเอนหลังนั้นร่างกายจะไม่ชอบ จึงควรกินข้าวเย็นไม่ให้ดึกนัก ก่อน 3 ทุ่มและให้รอ 2 ชั่วโมงก่อนค่อยเข้านอน รวมทั้งควรใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวิต เพราะจะดีต่อร่างกาย จะลดความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมากได้ถึง25เปอร์เซ็นต์

ส่วนนาฬิกาชีวิตคือจังหวะการทำงานของร่างกาย มีรอบเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ถูกควบคุมโดยแสงและอุณหภูมิร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับแสงแดดและมีอุณหภูมิเหมาะสม ร่างกายก็จะเริ่มทำงานตามวงจรในแต่ละวัน

รบกวนนาฬิกาชีวิตอาจเป็นตัวก่อมะเร็ง โดยนาฬิกาชีวิตอาจเป็นตัวแปรทางสิ่งแวดล้อม การรับแสงแรกและระบบการกิน โดยการศึกษาดูความเกี่ยวข้องระหว่างจำนวนมื้อที่กิน การอดนอนเวลาที่กินมื้อแรกกับมื้อสุดท้าย คุณภาพของอาหารมื้อสุดท้าย กับความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็ง สำคัญ 2 ประเภทที่เกิดขึ้นในผู้หญิงและผู้ชาย โดยศึกษาในผู้ใหญ่ที่ทำงานตอนกลางวัน มากกว่า4หมื่นคน มีเกือบ 2 พันคนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและมีการติดตามผล โดย428คนเป็นมะเร็งเต้านมและ179คนเป็น มะเร็งต่อมลูกหมาก ปรากฏว่าเมื่อทดลองเพิ่มตัวแปรเข้าไป เช่น ระยะเวลานอน ผลที่ได้คือคนที่กินมื้อดึกหลังสามทุ่มครึ่ง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งทั้งสองประเภท แม้ยังไม่รู้ความเกี่ยวกันด้านอื่นๆมากกว่านี้ แต่ในการศึกษาก็สรุปชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องกันของการกินมื้อดึกว่าเกี่ยวข้องกับการก่อมะเร็ง ซึ่งในอนาคตต้องศึกษาข้อมูลนี้เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจากดร.เทรวิส สตอร์ก และวารสารด้านมะเร็งนานาชาติ

สายสืบสุขภาพ : ศศิวรรณ์ เลิศวิริยะประภา

เครดิตข่าวโดย: เดลินิวส์
เรื่องอื่นๆ

กรมที่ดิน

ก่อนหน้า